นิยามต่าง ๆ ของอุศูลหรืออัศล์ ของ อุศูลุลฟิกฮ์

คำว่า อุศูล ฟิกอ์ เป็นคำผสม ที่ประกอบไปด้วยคำว่า อุศูล เป็นพหูพจน์ของคำ ว่า อัศล์ ตามรากศัพท์หมายถึง พื้นฐาน, รากฐาน, แก่น หรือหลักการ ในแง่วิชาการหมายถึงหลักการพื้นฐานในการวินิจฉัย เกี่ยวกับคำว่า อัศล์ หรือ อุศูล นักวอชาการสาย นิติศาสตร์อิสลามได้ให้ควาหมายไว้หลายประการดังนี้:

  1. อัศล์ ที่แปลว่า หลักสำคัญ, หรือ หลักใหญ่ ๆ ตรงกันข้ามกับ ข้อปลีกย่อย.
  2. อัศล์ ที่หมายถึง หลักการพื้นฐาน ที่ตรงกันข้าม กับ หลักการรอง เช่น หลักการพื้นฐานคือให้ยึดตามความหมายดั้งเดิมหรือความตามรากศัพท์ของคำศัพท์ในกรณีที่มีความคลุมเคลือในสองความหมายระหว่างความหมายรองหรือคงามหมายแรกของคำศัพท์
  3. อัศล์ ที่หมายถึง หลักฐาน หรือ ข้อพิสูจน์
  4. อัศล์ ที่แปลว่า กฎเกณฑ์
  5. อัศล์ที่หมายถึงมาตรการหรือหลักการที่ใช้ในการกำหนดหลักปฏิบัติในกรณีที่เกิดความสงสัยลังเลและไม่มีหลักฐานทางศานาบ่งชี้อย่างชัดเจน เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า มาตรการการวินิจฉัยหลักปฏิบัติแบบเฉพาะหน้า

คำว่า ฟิกฮ์ ตามรากศัพท์ หมายถึงความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง, ต่อมาก็มีความหมายที่แคบลง หมายถึง การทำความเข้าใจหลักการทางศาสนาอย่างลึกซึ้ง และในที่สุดก็ หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับบทบัญญัติหรือข้อปฏิบัติทางศาสนาพร้อมกับยกข้ออ้างอิงและหลักฐานของมันอย่างละเอียด

นิยามต่าง ๆ ของอุศูลุลฟิกฮ์

สำหรับคำว่า อุศูลุลฟิกฮ์ ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ยังมีประเด็นถกเถียงอื่นไอีกในหมู่นักวิชาการสายนี้.มุฮักกิก คุราซานี ได้นิยามศาสตร์นี้ไว้ว่า : (อุศูลเป็นศาสตร์ที่ว่า หลักการต่าง ๆ ที่จะทำให้ได้มาซึ่งบทบัญญัติทางศาสนา.) เจ้าของหนังสือ กิฟายะฮ์ กล่าว่า : (อุศูลคือ ข้อมูลต่าง ๆ ที่จะนำมาซึ่งหลักปฏิบัติทางศาสนา ซึ่งอาจจะนำมาวินิจฉัยบทบัญญัติทางศาสนาได้เลย หรือ อาจนำมากำหนด หน้าที่ปฏิบัติแบบเฉพาะหน้าก็ได้.)นักวิชาการอุศูลสายอะลิซซุนนะฮ์ บางท่านอาทิเช่น อบู ซฺเราะห์ให้ความหมายศาสตร์นี้ว่า:เป็นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการต่าง ๆ ที่จะทำให้เรารับรู้ถึงบทบัญยัติทางศาสนาสและวินิจฉัยได้.[1]